1/9/53

กรรณิการ์



กรรณิการ์


กรรณิการ์ (Night Blooming Jasmine)



ชื่ออื่น สะบันงา กณิการ์ กรณิการ์



ลักษณะ พฤกษศาสตร์
เปลือกของลำต้นมีสีขาว เรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ ใบรูปไข่ ปลายใบ
แหลม ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย โคนใบมน เเผ่นใบสีเขียวมีขนสากมือปกคลุม
ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบช่อละ 3-7 ดอก ดอกเป็นรูปแตร กลีบดอกสีขาว คล้ายกับดอกมะลิ
กลีบดอกบิด เรียงไปทางขวาคล้ายกังหันลม โคนกลีบสีส้มแสดเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ดอกบานในตอนเย็นเเล้วจะร่วงโรยในตอนเช้า กลิ่นหอมเเรง ออกดอกตลอดปี ผลกลม
หรือรูปไข่กลับผลเเห้งแตกออกเปน 2 ซีก ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ปักชำกิง ชอบดินร่วนสามารถระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงแดด
ครึ่งวัน- เต็มวัน ชอบน้ำเเละความชื้นปานกลาง
กรรณิการ์
ความเป็นมงคล
ชาวฮินดูเชื่อกันว่า เป็นดอก ไม้มงคลที่ใช้บูชาเทพเจ้าต่างๆ
อีกคติความเชื่อก็คือ “หากหญิงสาวสวยมาร้องรำทำเพลงที่ต้นกรรณิการ์ ก็จะทำให้ต้น
กรรณิการออกดอกสวยงาม” กรรณิการ์ยังเป็นต้นแม้ที่เชื่อมั่นว่า หากบ้านเมืองใดปลูก
ก็จะนำความสุขความ เจริญูมาให้กับคนภายในบ้าน นอกจากความเป็นมงคลแล้วยังมี
สรรพคุณด้านสมุนไพร แก้ปวดตามข้อ บำรุงน้ำดีเป็นยาระบาย ช่วยให้เจริญูอาหาร และ
ยังสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรของพระเเละใช้เป็นสีทำขนม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น